CCS สามารถขจัด CO2 ที่ปล่อยออกมาโดยภาคอุตสาหกรรมหรือโรงไฟฟ้า ได้ประมาณร้อยละ 90  และนำไปเก็บไว้ในที่ลึกลงไปใต้ดิน เพื่อการกักเก็บอย่าง ปลอดภัยและถาวร CO2 ที่ถูกดักจับนี้ ยังสามารถนำไปใช้งานใหม่ด้านอื่นๆ ที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิต

ในเอเชียแปซิฟิก โครงการและงานวิจัยเกี่ยวกับ CCS กำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะเอ็กซอนโมบิลและพันธมิตร กำลังเดินหน้าแผนงานต่างๆ ในการดักจับ CO2 จากอุตสาหกรรมในบริเวณที่มีการปล่อยก๊าซสูง และสำรวจทำเล ที่มีความเป็นไปได้ในการกักเก็บ CO2 ทั้งในจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย

เราได้เปลี่ยนความเชื่อต่างๆ ที่เคยมีเกี่ยวกับ CCS ตั้งแต่การขนส่งถึงการกักเก็บ และแม้แต่ การนำ CO2 ที่ดักจับได้มาใช้ใหม่

เราจะขนย้าย CO2 ที่ดักจับมาอย่างไร?

เมื่อดักจับมาได้แล้ว เราจะนำ CO2 ไปยังที่ๆ จะกักเก็บไว้ หรือใช้งานอย่างปลอดภัยได้อย่างไร?

การขนย้าย CO2 ไปยังสถานที่กักเก็บใต้ดิน หรือโรงงานแปรรูป ทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ การใช้ท่อส่งก๊าซ รถบรรทุก รถไฟ ไปจนถึงเรือ งานวิจัยเผยให้เห็นว่าการขนย้าย CO2 มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับ การขนส่งก๊าซในปัจจุบัน และในบางกรณี ยังปลอดภัยกว่าด้วยซ้ำ เนื่องจาก CO2 ไม่ติดไฟ

การใช้ท่อส่งก๊าซเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ในการขนส่ง CO2 โดยอุตสาหกรรมพลังงาน ได้ใช้วิธีนี้อย่างปลอดภัยมาแล้วหลายทศวรรษ

การขนส่งทางเรือน่าจะเป็นวิธีที่ใช้กัน อย่างแพร่หลายกว่าในเอเชียแปซิฟิก เพราะมีการขนส่ง CO2 ทางเรือขนาดใหญ่ เช่นเดียวกับการขนส่งก๊าซธรรมชาติ เรือลำหนึ่งสามารถขนย้าย CO2 ที่ดักจับมาได้ประมาณ 10,000 ถึง 40,000 ลูกบาศก์เมตร 

การขนส่งทางทะเลยังสามารถใช้โครงสร้าง พื้นฐานที่มีอยู่แล้ว และขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว

ในยุโรป มีการใช้เรือขนส่ง CO2 ที่ดักจับมาจากแหล่งใหญ่ๆ และส่งไปยังปลายทางเพื่อกักเก็บไว้ใต้ดินกันอยู่แล้ว

เราสามารถกักเก็บ CO2 ได้อย่างปลอดภัย หรือไม่?

การวิจัยและติดตามมาเป็นเวลานานหลาย ทศวรรษ แสดงให้เห็นว่าการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้ดินนั้นปลอดภัย เมื่อเลือกทำเลที่ถูกต้องเหมาะสม 

การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยคาร์เนกี เมลลอน พบว่า “แหล่งกักเก็บคาร์บอนทางธรณีวิทยา ยังคงเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยในการลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์”

งานวิจัยโดยคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ สหประชาชาติ (IPCC) พบว่า CO2 ที่เก็บไว้ในแอ่งกักเก็บทางธรณีวิทยา มีโอกาสถึงร้อยละ 99 ที่จะถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินได้นาน กว่า 1,000 ปี โดยเลียนแบบกระบวนการ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ IPCC เสริมว่า ถ้าเลือกทำเลอย่างถูกต้องและจัดการได้ดี “CO2 จะถูกแยกจากชั้นบรรยากาศอย่างถาวร”

แอลิสัน ฮอร์เทิล นักวิจัยอาวุโสที่องค์การ วิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่ง เครือจักรภพ (CSIRO) ของออสเตรเลีย กล่าวว่าความปลอดภัยเป็นข้อกำหนด ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงในการเลือกจุดที่ เหมาะสมสำหรับการกักเก็บ CO2

เธอกล่าวว่า “เราเริ่มต้นด้วยการใส่ความพยายามมากมาย ก่อนจะตัดสินใจว่าจุดนั้นๆ เหมาะสมหรือไม่ ต้องใช้เวลาในการทำความความเข้าใจ ทั้งแผนที่และการทดสอบ ทางธรณีวิทยา เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจ ว่ามันสามารถกักเก็บ CO2 ได้จริงหรือไม่ แล้วใช้อุปกรณ์ต่างๆ ที่ได้มาตรฐานทางอุตสาหกรรมในการติดตาม และคาดการณ์ว่า CO2 จะไปไหนเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ”

ชั้นทางธรณีวิทยานี้มักจะประกอบด้วยหินก้อนหนาเนื้อตัน อยู่ใต้ดินลึกลงไปหลายพันฟุต และอยู่ใต้แหล่งน้ำดื่มลงไปมาก บ่อยครั้ง จะเป็นการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่เหมือนกับชั้นที่เก็บกักน้ำมันและก๊าซไว้ใต้ดินเป็นเวลาหลายพันปี

เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี CO2 ที่ถูกกักเก็บไว้นี้จะเริ่มกลายเป็นแร่ธาตุ และมีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นของแข็ง หลังจากรวมตัวกับ แร่ธาตุอื่นๆ  ดังนั้น ยิ่ง CO2 อยู่ใต้ดินนานเท่าไร ก็ยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น

ประสบการณ์ของเอ็กซอนโมบิลที่มีทั่วโลกมานานกว่า 40 ปี แสดงให้เห็นว่า CO2 ที่ถูกกักเก็บไว้ใต้ดินตามจุดที่ผ่านการประเมินอย่างเหมาะสมแล้ว รวมทั้งมีการติตตามเฝ้าระวัง จะมีความปลอดภัยและอยู่ได้อย่างถาวร เรามีการตรวจสอบอยู่เสมอทั้งบนพื้นผิว และการติดตามลึกลงไปใต้ผิวดิน โดยใช้เครื่องส่งสัญญาณชนิดแสงเลเซอร์ ดาวเทียมตรวจจับความดัน และเทคโนโลยี การวัดคลื่นไหวสะเทือน 4 มิติ

แต่การกักเก็บ CO2 ที่ดักจับมาได้ ไม่ใช่ทางเลือกเพียงอย่างเดียวที่ปลอดภัย และถาวร

เราใช้ CO2 ที่ดักจับมา ทำอะไรอย่างอื่นได้อีกมั้ย?

ไม่เพียงแต่จะสามารถกักเก็บได้อย่างปลอดภัยและถาวร ยังมีความเป็นไปได้ที่จะนำ CO2 มาใช้งานใหม่ เพื่อทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อชีวิตยุคใหม่

ในแต่ละปี มีการนำ CO2 ทั่วโลกประมาณ 230 ล้านตัน มาใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย CO2 ส่วนใหญ่ คือ ประมาณ 125 ล้านตัน ถูกนำมาใช้ผลิตปุ๋ย นอกจากนี้ ก็ใช้ในการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม การแปรรูปโลหะ การดับเพลิง และการทำความเย็น

ที่ออสเตรเลีย เอ็กซอนโมบิล พบวิธีในการรีไซเคิล CO2 ที่ถูกปล่อยออกมา พร้อมทั้งช่วยเหลือประเทศไปด้วย

เมื่อปีที่แล้ว บริษัทลงนามในข้อตกลงเพื่อการจัดหาระยะยาวร่วมกับ Air Liquide และ BOC ในการดักจับและนำ CO2 จากโรงงานแปรรูปก๊าซที่แลงฟอร์ดในวิคตอเรีย มาใช้งานใหม่ Air Liquide และ BOC จะสร้างหน่วยใหม่เพื่อนำ CO2 ที่ดักจับมาได้ ไปผ่านกระบวนการเพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสียและทำน้ำจืดจากน้ำทะเล ตลอดจนการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งอุตสาหกรรมทางการแพทย์

ดิแลน พิว ประธานเอ็กซอนโมบิลออสเตรเลีย กล่าวว่า การทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ รวมทั้งนโยบายที่เหมาะสมของภาครัฐ จะช่วยพัฒนาการใหม่ๆ ในการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนที่ดักจับมาได้

“นี่เป็นตัวอย่างสำคัญของการที่อุตสาหกรรม ต่างๆ ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างงานใหม่ๆ ในอุตสาหกรรมก่อสร้างและอุตสาหกรรมการผลิตของภูมิภาค เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณค่า พร้อมกับช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น”

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

ทำไมต้องใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์