การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งไม่เพียงต้องการเทคโนโลยีที่เหมาะสมและเชื้อเพลิงที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ แต่ยังต้องการความเป็นผู้นำที่กล้าหาญรวมถึงบุคลากรที่มีความสามารถ ประสบการณ์ และแรงผลักดันในการส่งมอบสิ่งเหล่านี้

เออร์ทิซา ไซยิด ประธาน ExxonMobil Low Carbon Solutions Asia Pacific กล่าวว่า “ความท้าทายนี้ยิ่งใหญ่มาก ดังนั้นเพื่อจัดการกับปัญหานี้ โลกของเรา รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต้องการวิธีแก้ปัญหาที่ออกแบบให้ปรับใช้ได้ในวงกว้างและมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าปัจจุบันมาก”

เออร์ทิซา ไซยิด ประธาน ExxonMobil Low Carbon Solutions Asia Pacific

การสร้างอนาคตที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ ต้องการวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ปรับใช้ในวงกว้าง การมุ่งเน้นที่ความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอน ในภาคส่วนที่ลดได้ยาก จะมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการช่วยให้โลกบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เนื่องจาก ประมาณสองในสามของการปล่อย CO2 จากแหล่งอุตสาหกรรม มาจากภาคส่วนที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าและอุตสาหกรรมหนัก อย่างการทำเหมืองแร่ การผลิตเหล็ก และการผลิตซีเมนต์

เทคโนโลยีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและปรับใช้ในวงกว้างได้คือการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS)

CCS สามารถขจัดก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากกิจกรรม ต่างๆ ทางอุตสาหกรรมได้ประมาณ 90% และจากข้อมูลของ IEA การดักจับและกักเก็บคาร์บอนเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ปรับใช้ในวงกว้างที่สำคัญซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรม

เนื่องจากความต้องการด้านอุตสาหกรรม และการผลิตกระแสไฟฟ้าของเอเชียแปซิฟิกเพิ่มขึ้น ตามการเติบโตของชนชั้นกลางและความต้องการที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีอย่าง CCS จึงสามารถรับมือกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น ในระดับที่เอเชียแปซิฟิกต้องการได้

การสร้างอุตสาหกรรมการลดคาร์บอน

เออร์ทิซากล่าวว่าโลกจำเป็นต้องสร้างอุตสาหกรรมใหม่ นั่นคืออุตสาหกรรมการลดคาร์บอน ซึ่งจะมีห่วงโซ่คุณค่าและผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมีหลักสำคัญสองประการในการสร้าง ขีดความสามารถด้าน CCS ของเอเชียแปซิฟิก

“ประการแรก คือ การทำความเข้าใจวิธีที่จะประหยัด ต้นทุนในการดักจับ CO2 ปัจจุบัน เรามีเทคโนโลยีที่สามารถดักจับ CO2 ที่มีความเข้มข้นสูงได้ ดังนั้นการปรับปรุงเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องก็จะช่วยให้ประหยัดต้นทุน และดักจับคาร์บอนที่มีความเข้มข้นต่ำได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” เขากล่าว

“ประการที่สองคือการพัฒนาวิธีการขนส่ง CO2 ไปยังสถานที่กักเก็บ CO2 ที่คุ้มค่า หากคุณลองนึกย้อนกลับไปสัก 30 หรือ 40 ปี และเปรียบเทียบช่วงเวลานั้นกับห่วงโซ่คุณค่าของ LNG คุณจะเห็นว่าอุตสาหกรรมมีวิวัฒนาการ และได้พัฒนาไปตามเวลา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ทำให้ต้นทุนลดลงและได้สร้างตลาด LNG ที่มีสภาพคล่องมากขึ้นในปัจจุบัน”  ห่วงโซ่มูลค่าของ CO2 ก็สามารถคาดหวังได้เช่นเดียวกัน ตั้งแต่เทคโนโลยีการดักจับและการขนส่งไปจนถึงสถานที่จัดเก็บ

ความได้เปรียบในเอเชียแปซิฟิก

“การตอบสนองความต้องการเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงจุดแข็งของเอ็กซอนโมบิล ซึ่งพัฒนามาตลอดประวัติศาสตร์ของบริษัทและทั่วโลก” เขากล่าว

เขาเสริมว่าองค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการทำความเข้าใจลักษณะใต้พื้นดิน และตำแหน่งของสถานที่จัดเก็บที่เป็นไปได้และมีประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงวิธีการทำงาน

“ขนาดของการดำเนินงานของเอ็กซอนโมบิลทั่วเอเชียแปซิฟิก ทำให้เรามีความได้เปรียบในการช่วยลด การปล่อยก๊าซเรือนกระจก” เขากล่าวต่อ “จะมี CO2 หลายล้านตันที่จะถูกดักจับและกักเก็บไว้ การปฏิบัติงานด้านสำรวจและผลิตของเราในภูมิภาคนี้ ตลอดหลายทศวรรษทำให้เราได้รับข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวกับสถานที่จัดเก็บที่ได้ประโยชน์สูงสุด”

สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในเอเชีย

เออร์ทิซากล่าวว่า “มีส่วนผสมทั้งหมดสำหรับวิธีแก้ปัญหาที่นำไปสู่คาร์บอนต่ำได้อย่างแท้จริง อยู่ในภูมิภาคนี้อยู่แล้ว

“เราเชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเป็นสถานที่กักเก็บได้ เพราะมีพื้นที่มากมายที่สามารถกักเก็บ CO2 ที่ดักจับได้หลายร้อยล้านหรือแม้กระทั่งหลายพันล้านตันได้อย่างถาวรและปลอดภัย”

ขณะนี้มีการดำเนินงานในภูมิภาคนี้แล้ว มีการลงนามในข้อตกลงการดักจับ การขนส่ง และการกักเก็บคาร์บอนกับบริษัทพลังงานของรัฐอย่าง PETRONAS ในประเทศมาเลเซีย และ PERTAMINA ในประเทศอินโดนีเซีย ทำให้ประเทศเหล่านี้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรม CCS ที่กำลังเติบโตในภูมิภาค [ลิงก์ไปยัง CCS ในประเทศอินโดนีเซียและประเมศมาเลเซีย]

ในประเทศจีน เราลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบริษัท CNOOC China จำกัด บริษัท เชลล์ และคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนามณฑลกวางตุ้ง เพื่อประเมินโอกาสที่จะใช้ CCS ในนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Dayawan ในฮุ่ยโจว

การผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ ตลอดจนประสบการณ์และความสามารถที่สั่งสมมาหลายทศวรรษเพื่อปรับใช้วิธีการแก้ปัญหาเหล่านั้นตามระดับความต้องการของเอเชียแปซิฟิก สามารถช่วยเปลี่ยนแปลงภูมิภาค ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และสร้างอนาคตที่มีคาร์บอนต่ำลง

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

ความมั่นคง ปลอดภัย และถาวร ที่อยู่เบื้องหลัง CCS