โลกถูกกระตุ้นเตือนผลักดันให้มีการประสานความร่วมมือกันทั่วโลก เพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น และใช้เทคโนโลยีพลังงานที่ให้คาร์บอนลดน้อยลง ขณะเดียวกันก็ลดการปล่อยก๊าซด้วย

การวางแนวคิดสู่อนาคตที่มีคาร์บอนต่ำลง ตามเป้าหมายในความตกลงปารีส (Paris Agreement) นั้น จำเป็นต้องอาศัยความกล้า ทั้งในด้านแนวความคิดและการหาแนวทางออกในระดับมหภาค พร้อมทั้งประสานความร่วมมือของภาครัฐ แวดวงวิชาการ และภาคธุรกิจด้วยกัน เมื่อเร็ว ๆ นี้ เอ็กซอนโมบิล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนความตกลงปารีสมาตั้งแต่แรกเริ่ม ได้เสนอวิธีการที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล จากผลกระทบของอุตสาหกรรมที่มีอยู่อย่างหนาแน่น เช่น ในสหรัฐอเมริกา

ข้อเสนอแนะอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

สามปีที่ผ่านมา เอ็กซอนโมบิลได้ศึกษาความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage) ที่จะนำไปใช้ในนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ทางธรณีวิทยาที่สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ได้อย่างปลอดภัย

CCS จะทำให้โลกสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์หลายร้อยล้านตันได้อย่างปลอดภัย แทนการปล่อยออกไปสู่ชั้นบรรยากาศ

โดย CCS เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพียงไม่กี่อย่างที่ผ่านการทดลองและทดสอบ ว่ามี ศักยภาพที่จะลดการปล่อยก๊าซได้อย่างมีนัยสำคัญ จากภาคส่วนที่หลีกเลี่ยงคาร์บอนได้ยาก เช่น อุตสาหกรรมการผลิต  โรงงานไฟฟ้า และ อุตสาหกรรมหนักต่างๆ

พื้นที่ซึ่งมีแนวโน้มจะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ คือ ที่เมืองฮุสตัน ในมลรัฐเทกซัส

เมื่อเร็ว ๆ นี้ หน่วยงานธุรกิจ Low Carbon Solutions ของเอ็กซอนโมบิล ได้นำเสนอแนวคิด เขตนวัตกรรม CCS ตามเส้นทางท่าเดินเรือของฮุสตัน  ซึ่งเป็นการริเริ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ เอกชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันผลักดันนโยบายและการลงทุน ด้าน  CCS ให้ขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น

โดยแนวคิดนี้ หากได้พัฒนาเต็มรูปแบบแล้ว  จะสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นจำนวนมาก คาดว่าในปี พ.ศ. 2583 จะสามารถกักเก็บได้ถึง 100 ล้านเมตริกตัน (100 million metric tons) ต่อปี ซึ่งจะเป็นตัวอย่าง การเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีประสิทธิภาพและใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา นอกจากจะช่วยรักษาปกป้องธรรมชาติแล้ว ยังได้สร้างงานได้อีกหลายพันตำแหน่ง พร้อมทั้งทำให้ความพยายามที่จะลดการปล่ยอก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศของอเมริกาเกิดผลได้เร็วขึ้น และก่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมตามความคาดหวังของประเทศที่จะลดปริมาณคาร์บอนให้ลดน้อยลง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากความร่วมมือกันของหลายภาคส่วน พร้อมกัน จะทำให้สามารถขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ ที่กักเก็บไว้ได้จากแหล่งอุตสาหรรมต่าง ๆ ไปกักเก็บอย่างปลอดภัยในหลุมหรือแอ่งทางธรณีวิทยาที่อยู่ใต้อ่าวเม็กซิโก ซึ่งตามการคาดการณ์ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ พื้นที่ชายฝั่งทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา สามารถบรรจุหรือเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงประมาณ 500,000 ล้านเมตริกตัน

ในเอเชียแปซิฟิก ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่มาจากการผลิตกระแสไฟฟ้า อุตสาหกรรมการผลิต และการก่อสร้าง ซึ่งจากโครงการที่ทำในฮุสตัน สามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางด้าน CCS สำหรับภูมิภาคนี้ได้

ทำไมต้อง CCS?  ขณะที่เทคโนโลยีบางอย่าง เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ จะมีบทบาทสำคัญที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ เทคโนโลยี CCS จะมีส่วนช่วยอย่างสำคัญ โดยเฉพาะในภาคการผลิต กระแสไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นตัวการหลัก ในการปล่อยคาร์บอนในเอเชียแปซิฟิก ในปีพ.ศ. 2563 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency) กล่าวว่า “การจะทำให้การปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero emission)  จะเป็นไปไม่ได้เลย หาก ไม่มีเทคโนโลยี CCS”

ผลการดำเนินงานด้าน CCS ของเอ็กซอนโมบิล ประกอบไปด้วยงานวิจัยมากมายหลากหลาย รวมถึงความร่วมมือกับศูนย์พลังงานทั้งห้าแห่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก

ในเอเชียแปซิฟิก  เอ็กซอนโมบิลได้ทำงานร่วมกับองค์กรกลางด้านพลังงานของสิงคโปร์ (Singapore Energy Centre-SgEC) โดยได้ช่วยหาทางแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับความท้าทายด้านพลังงาน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และนำสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการวิเคราะห์วิจัยต่างๆ ซึ่ง หนึ่งใน หัวข้องานวิจัยหลักได้รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทำให้ภูมิภาคแห่งนี้สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ โดย SgEC เป็นหนึ่งในองค์กรพลังงานแห่งแรก ๆ ที่เอ็กซอนโมบิลให้การสนับสนุนเพิ่มเติมที่อยู่นอกอเมริกา และก่อตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

ในภาพรวม เอ็กซอนโมบิลมีประสบการณ์กว่า 30 ปี ในการดักจับคาร์บอน และมีส่วนในความสามารถที่จะดักจับปริมาณการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ ได้มากถึง 1 ใน 5 ของโลก

ทำไมเรื่องนี้จึงสำคัญ เป้าหมายของความตกลงปารีส  จะไม่สามารถบรรลุได้หากไม่สามารถลดการปล่อยก๊าซสู่ชั้นบรรยากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอุตสาหกรรมหลัก เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า  อุตสาหกรรม และ การขนส่งพาณิชย์ หากพิจารณาถึงอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า และ อุตสาหกรรมหนัก รวมกันแล้ว มีการปล่อยก๊าซที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงานถึง 70%  ของการปล่อยก๊าซของทั้งโลก  และ CCS เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพียงไม่กี่อย่างที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซได้อย่างชัดเจนจากอุตสาหกรรมเหล่านั้น  หากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหันมาใช้เทคโนโลยี CCS นี้ไปพร้อมๆกัน จะช่วยนำไปสู่การลดคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมหาศาล

บทบาทเชิงนโยบาย จำเป็นต้องมีการพิจารณานโยบายใหม่ ๆ เพื่อดึงการลงทุนในด้าน CCS ให้สอดคล้องกับแนวทาง และเป้าหมายของความตกลงปารีส รัฐบาลควรจะคำนึงถึงการกำหนดนโยบาย การออกกฎหมาย รวมทั้งสิทธิประโยชน์ เพื่อให้ให้โอกาสในการลงทุนเทคโนโลยี CCS เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นๆ ในความพยายามลดการปล่อยก๊าซอได้อย่างจริงจัง การตั้งราคาตลาดของคาร์บอนจะมีส่วนสำคัญโดยทำให้เกิดความชัดเจนและเสถียรภาพในการขับเคลื่อนการลงทุน

แนวคิดเรื่องโซนนวัตกรรม CCS ตามเส้นทางเดินเรือของฮุสตัน เป็นความท้าทายประการหนึ่ง ความสำเร็จของโครงการนี้ จะเป็นแผนนำทางสู่การลดคาร์บอนในพื้นที่ซึ่งมีการปล่อยก๊าซปริมาณสูงในสหรัฐอเมริกา และจะเป็นตัวอย่างที่สำคัญต่อพลังงานในอนาคตที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศอย่างมีนัยสำคัญ

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

วันพรุ่งนี้ที่สะอาดกว่า…เริ่มต้นที่วันนี้ สร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน