การดักจับ

แนวคิดของการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกมาก่อนจะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ อาจดูเหมือนเป็นทางออกจากโลกอนาคต แต่เทคโนโลยีนั้นมีอยู่แล้ว และยังคงมีการพัฒนาให้เต็มศักยภาพ

เอ็กซอนโมบิลรู้ดีทีเดียวเกี่ยวกับ CCS เพราะเราเป็นบริษัทแรกที่ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ด้วย CCS ได้มากกว่า 120 ล้านเมตริกตัน เทียบเท่ากับการกำจัดก๊าซที่ปล่อยจากรถยนต์กว่า 25 ล้านคันในแต่ละปี

นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรของบริษัท กำลังทำงานกับผู้ร่วมโครงการจากภายนอก เพื่อขยายการใช้งาน CCS ให้ช่วยดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมหนักต่างๆ ทั้งนี้ เพียงร้อยละ 4 ของควันเสียจากเครื่องกังหันที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเท่านั้นที่มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์ หมายความว่ามันยากจนเหลือเชื่อที่จะดักจับได้ บางคนถึงกับเปรียบเทียบว่า ราวกับงมเข็มในมหาสมุทร

งานของเอ็กซอนโมบิลมีความสำคัญมาก เพราะ CCS เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเพียงไม่กี่อย่างที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า สามารถช่วยขจัดคาร์บอนในอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานเข้มข้นในการผลิต และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำลงถึงระดับที่จำเป็นในการบรรลุเป้าหมายของโลกด้านภูมิอากาศ ตามความตกลงปารีส แม้พลังงานทดแทนจะมีบทบาทในเรื่องนี้ด้วย แต่ก็ยังถูกมองว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ต่อเนื่อง และอาจจะไม่สามารถรองรับความต้องการพลังงานปริมาณสูง ซึ่งจำเป็นต่อการผลิตสินค้าอย่างคอนกรีตหรือเหล็กกล้าได้เสมอไป

เอ็กซอนโมบิลกำลังทำงานวิจัยขั้นต้นในเทคโนโลยีเกี่ยวกับ CCS อีกสองอย่างด้วยกัน เทคโนโลยีแรกคือ การใช้เซลล์เชื้อเพลิงเพื่อดักจับก๊าซก่อนจะถูกปล่อยออกจากโรงไฟฟ้าหรือโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ส่วนอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการดักจับโดยตรงจากอากาศ มุ่งจับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาโดยตรงจากชั้นบรรยากาศ

เมื่อขยายการใช้งานจนเหมาะสม CCS จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซจากอุตสาหกรรมที่ยากจะขจัดคาร์บอน อย่างอุตสาหกรรมการผลิตและการผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งอุตสาหกรรมทั้งสองด้านนี้เมื่อรวมกันแล้ว มีการปล่อยก๊าซมากถึงสองในสามของปริมาณก๊าซที่เกิดจากการใช้พลังงานของโลก

เมื่อดักจับก๊าซได้ ขั้นตอนต่อไปคือการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปใต้ดิน และกักเก็บไว้อย่างปลอดภัย แน่นหนา และถาวร 

การกักเก็บ

การกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เป็นการดำเนินการที่ซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยความเชี่ยวชาญบางอย่างเช่นเดียวกับที่เอ็กซอนโมบิลใช้ในการผลิตและจัดหาพลังงานให้กับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเข้าใจเรื่องการก่อตัวทางธรณีวิทยา ในกรณีของ CCS นักธรณีวิทยาของบริษัทจะระบุจุดใต้พื้นดินที่จะกักเก็บโมเลกุลของคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับมาได้

คาร์บอนไดออกไซด์สามารถถูกกักเก็บไว้อย่างปลอดภัยในชั้นหินเนื้อพรุนที่ก่อตัวตามธรรมชาติใต้พื้นดิน การค้นพบในช่วงแรกจากงานศึกษาวิจัยโดยศูนย์พลังงานสิงคโปร์ คาดว่าเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะมีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้เกือบ 300,000 ล้านตัน

วิธีหนึ่งที่จะทำให้การดักจับ ขนส่ง และกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรมในระดับโลก มีประสิทธิภาพเรื่องค่าใช้จ่าย ก็คือการสร้างศูนย์ CCS ที่มีผู้ใช้งานร่วมกันเป็นจำนวนมากในสถานที่ต่าง ๆ เช่นในเอเชีย เพื่อเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรมเข้ากับการกักเก็บก๊าซระดับโลก เครือข่ายดังกล่าวซึ่งมีศักยภาพสำหรับผู้ใช้งานจำนวนมาก และการขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งทางท่อและทางเรือ จะมีผลกระทบสำคัญต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภูมิภาค และเป็นต้นแบบให้กับส่วนอื่น ๆ ของโลกได้

การดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากภาคอุตสาหกรรมของโลกได้อย่างปลอดภัย เป็นความพยายามที่คาดหวังไว้สูง แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาซึ่งเป็นผลกระทบจากภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เอ็กซอนโมบิลจะยังคงทำงานในส่วนของเรา เพื่อพัฒนา CCS และเทคโนโลยีอื่นๆ ที่จะลดการปล่อยก๊าซต่อไป ซึ่งจะทำให้โลกอยู่บนเส้นทางที่ถูกต้อง เพื่อไปสู่อนาคตด้านพลังงานที่มีการปล่อยก๊าซต่ำลง

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

พลาสติกบางอย่างรีไซเคิลไม่ได้ แล้วการรีไซเคิลขั้นสูงจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่?