เอเชีย-แปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่กำลังพัฒนาเร็วที่สุดของโลก จนกลายเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม พลังงาน และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่มาพร้อมกับการเติบโตของชนชั้นกลางในภูมิภาคนี้

อย่างไรก็ตาม การเติบโตนี้มาพร้อมกับสิ่งท้าทายใหม่ ๆ เมื่อภูมิภาคนี้ต้องปรับตัวให้เข้ากับการขยายตัวที่ไม่เคยมีมาก่อน

เมื่อประชากรเพิ่มขึ้นและมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น เอเชีย-แปซิฟิกจะต้องจัดหาอาหารมากขึ้นสำหรับผู้คนจำนวนมากขึ้น

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติคาดการณ์ว่าภูมิภาคนี้จะเติบโตโดยมีประชากรเพิ่มขึ้นอีก 1,500 ล้านคน ภายในปีพ.ศ. 2593 และความต้องการอาหารจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าตัว

นอกจากนี้ เมืองต่าง ๆ ที่กำลังเติบโตจะแย่งพื้นที่ไปจากเกษตรกรรม องค์การสหประชาชาติรายงานว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ประชากรจะต้องเปลี่ยนวิธีผลิตอาหารและใช้งานที่ดินเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารในอนาคต

อย่างไรก็ตาม มีทางออกที่สามารถสร้างสมดุลของการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืนและการจัดหาอาหารเลี้ยงเอเชีย-แปซิฟิก

หนทางหนึ่งในการจัดการปัญหาที่ดิน โดยยังรักษาความมั่นคงทางอาหารไว้ได้ คือการสร้างเรือนกระจกให้มากขึ้น

asian woman in mask inside greenhouse

เรือนกระจกช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร

เรือนกระจกช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตได้อีกห้าถึงแปดเท่าเนื่องจากสภาพการเพาะปลูกที่ดีขึ้น การเพิ่มผลผลิตขนาดนั้นจะช่วยตอบสนองความต้องการที่สูงขึ้นของเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะในประเทศที่ต้องพึ่งพาภาคการเกษตรเป็นอย่างมาก เช่น ไทยและเวียดนาม

ไมเคิล ลาซีย์ ผู้บริหารด้านการลงทุนบำบัดของเสียเพื่อความยั่งยืนของเอ็กซอนโมบิล กล่าวว่าระหว่างการเดินทางไปประเทศจีน เขาได้เห็นด้วยตัวเองว่าเรือนกระจกและฟิล์มอื่น ๆ ที่ใช้ในการเพาะปลูกได้เปลี่ยนโฉมหน้าเกษตรกรรมไปแล้ว

“พวกเขากำลังปลูกผลไม้ ในสภาพแวดล้อมแบบเมืองเป็นหลัก ในภูมิอากาศที่โดยปกติจะไม่สามารถปลูกพืชนี้ได้” ลาซีย์กล่าว “พวกเขามีสตรอเบอรีที่รสชาติดีจริง ๆ ซึ่งกำลังเจริญงอกงามเพราะเรือนกระจกและฟิล์มคลุมโรงเรือน”

แต่ใช่ว่าเรือนกระจกจะสร้างมาเหมือนกันหมด เรือนที่ใช้โพลิเมอร์ในการสร้างแทนกระจก จะสร้างและรื้อถอนได้ง่ายกว่า ทำให้มีความยืดหยุ่นและใช้งานในพื้นที่เพาะปลูกได้ดีกว่า และเนื่องจากเป็นโพลิเมอร์ จึงมักอยู่ได้นานกว่าเพราะทนต่อการแตกร้าว

แต่เช่นเดียวกับกระจก โพลิเมอร์สามารถนำมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ และสามารถนำมาใช้ซ้ำได้

ลาซีย์ กล่าวว่าเนื่องจากโพลิเมอร์เพื่อการเกษตรเหล่านี้ได้รับการพัฒนามาตลอดเวลาหลายปีจนทนทานมากขึ้น และยังมีน้ำหนักเบาลง จึงทำให้มีการนำมาใช้ซ้ำ

“(มันเป็นเรื่องของ) ทำน้อยแต่ได้มาก” ลาซีย์กล่าว ในงานเกษตรกรรม โพลิเมอร์ประสิทธิภาพสูงเหล่านี้มีความเหนียวพอที่จะทำให้นำฟิล์มกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีกหลังจากการใช้งานครั้งแรกโดยไม่แตกหรือฉีกขาด

“คุณลักษณะเหล่านี้มีความสำคัญมากทีเดียวในจีน ซึ่งกำลังมีการใช้งานฟิล์มเหล่านี้เป็นจำนวนนับล้านตัน และรัฐบาลกำลังเรียกร้องมากขึ้น ให้เกษตรกรเก็บฟิล์มกลับมาจากท้องทุ่งหลังจากการใช้งาน”

มีผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกหลายรายอย่างเช่นเอ็กซอนโมบิล ที่กำลังพัฒนาโพลิเมอร์ที่ล้ำหน้า ซึ่งจะให้ประโยชน์ที่ยั่งยืนแก่ลูกค้าและผู้ใช้งานจริง

เรือนกระจกที่ใช้โพลิเมอร์ยังรักษาความร้อนได้ดีกว่ากระจก ซึ่งจะยืดฤดูเพาะปลูกให้ยาวขึ้น ทำให้เพาะปลูกพืชผักได้มากขึ้น บนพื้นที่ที่เล็กลง ในระยะเวลานานขึ้น ทำให้จัดหาอาหารได้อย่างต่อเนื่องและสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้น

วิธีแก้ปัญหาที่เรียบง่ายและใช้เทคโนโลยีต่ำอย่างเรือนกระจกทำจากฟิล์มโพลิเมอร์ สามารถช่วยให้เอเชีย-แปซิฟิกอยู่บนเส้นทางสู่ความยั่งยืน ขณะเดียวกันก็มีบทบาทสำคัญในการหลีกเลี่ยงวิกฤติการณ์ด้านอาหารที่อาจเกิดขึ้นได้

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

การจัดหาพลังงานให้กับชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตในเอเชีย