สักวันหนึ่ง วิทยาการที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนของเหลือทิ้งในเกษตรกรรมหรือเศษพืชผักให้กลายเป็นไบโอดีเซลรุ่นใหม่ที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง อาจจะเปลี่ยนวิธีเติมน้ำมันสำหรับรถยนต์ขนาดใหญ่ก็ได้

Clariant บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการสกัดน้ำตาลจากของเหลือทิ้งในเกษตรกรรม ซึ่งก็คือไฟเบอร์จากพืชที่กินไม่ได้ เช่น
ฟางข้าวสาลีและซังข้าวโพดที่เกษตรกรเอาไปใช้งานได้อย่างจำกัด ได้ร่วมมือกับเอ็กซอนโมบิลและ Renewable Energy Group (REG)  เพื่อพัฒนาการวิจัยไบโอดีเซลขั้นต่อไป

Clariant ตั้งอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีชื่อเสียงโดดเด่นจากกระบวนการเฉพาะทางพิเศษที่ชื่อว่า sunliquid บริษัทใช้เอนไซม์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในการย่อยสลายเซลลูโลสอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้นักวิจัยสามารถปรับขั้นตอนให้เข้ากับภูมิภาคและพืชผลเฉพาะต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐฯ เราอาจจะนำซังข้าวโพดมาเป็นเชื้อเพลิงให้กับรถบรรทุกในอนาคต ส่วนที่บราซิล ก็อาจจะนำชานอ้อยที่มีอยู่อย่างเหลือเฟือมาเป็นเชื้อเพลิงก็ได้

Markus Rarbach หัวหน้าฝ่ายเชื้อเพลิงชีวภาพและอนุพันธ์ที่ Clariant กล่าวว่า “เราต้องดูว่าจะทำให้ประชากรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อย่างไร ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่เราสามารถเปลี่ยนทรัพยากรที่ไม่ค่อยมีคนใช้เหล่านี้ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงเหลวได้”

กระบวนการ sunliquid ของบริษัท Clariant ที่เปลี่ยนมวลพืชให้กลายเป็นน้ำตาล ช่วยแก้ไขปัญหาวิทยาการด้านไบโอดีเซลครึ่งแรกได้ และยังเสนอเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตเชิงพาณิชย์ได้อีกด้วย ส่วนปัญหาอีกครึ่งหนึ่งนั้น เอ็กซอนโมบิลกับ REG ได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยา คือ อีโคไล ที่สามารถย่อยและเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นไบโอดีเซลได้แล้ว และในไม่ช้า กลุ่มบริษัทพันธมิตร ก็จะนำวิทยาการทั้งสองด้านมาใช้ที่โรงงานต้นแบบของบริษัท Clariant ณ เมืองสโตรบิง ประเทศเยอรมนี โดย Clariant จะทดสอบวัตถุดิบตั้งต้นที่เป็นเซลลูโลสหลายประเภทเพื่อผลิตเชื้อเพลิง

Fernando Sanchez-Riera รองประธานฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ REG Life Sciences กล่าวว่า “เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพสูง เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยผลิตไบโอดีเซล ซึ่งจะเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังสามารถขยายออกไปในขณะที่เราใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วโลกในปริมาณมหาศาล”

อ่านรายละเอียดด้านล่างเพื่อดูว่าการเปลี่ยนพืชไปเป็นพลังงานมีขั้นตอนอย่างไรบ้างในขณะที่พันธมิตรทั้งสามเข้าใกล้ความจริงไปอีกขั้น

 

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

พลาสติกบางอย่างรีไซเคิลไม่ได้ แล้วการรีไซเคิลขั้นสูงจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่?