การที่สามารถเข้าถึงพลังงานที่เชื่อถือได้และสามารถซื้อหาได้ ทำให้มีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน การสื่อสาร การเดินทาง การทำธุรกิจ การสร้างโครงสร้างพื้นฐานและอื่น ๆ อีกมากมายไปอย่างสิ้นเชิง

และในหลายทศวรรษข้างหน้าที่จะมาถึงนั้น จะมีผู้คนอีกมากที่ ต้องการเข้าถึงพลังงานที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนี้

ภาพอนาคตพลังงานประจำปีพ.ศ. 2562 ของเอ็กซอนโมบิล เป็นการวิเคราะห์ล่าสุดของบริษัทว่า โลกจะใช้พลังงาน ในแต่ละรูปแบบอย่างไร ไปจนถึงปีพ.ศ.2583

Shanghai in the evening

เมื่อจำนวนประชากรเติบโตและเข้าถึงพลังงานได้มากขึ้น มาตรฐานการครองชีพทั่วโลกจะสูงขึ้น ชนชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจะทำให้ความต้องการที่อยู่อาศัย การขนส่ง กระแสไฟฟ้า และเครื่องอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งพลังงานที่ใช้กับสิ่งของเหล่านี้ทั้งหมด ความท้าทายที่เกิดขึ้น – และจะคงอยู่ต่อไป – คือการตอบสนองความต้องการที่เติบโตนี้และลดความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกัน

เทคโนโลยีมีศักยภาพสูงสุดในการช่วยสังคมแก้ปัญหาความท้าทายที่มาคู่กันนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้พัฒนาประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยปลดล็อกแหล่งพลังงานต่าง ๆ ที่หลากหลายและมีอยู่เป็นจำนวนมาก

ปัญหานี้ไม่ได้มีทางออกเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น แต่กลับต้องใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีต่าง ๆ อันหลากหลาย ตามนโยบายที่กำหนดไว้ ซึ่งจะช่วยส่งมอบพลังงานที่เชื่อถือได้ไปทั่วโลก

ภาพอนาคตพลังงานประจำปีนี้มีข้อควรพิจารณาที่สำคัญเจ็ดประการ ดังนี้:

พลังงานเป็นรากฐานสำหรับชีวิตสมัยใหม่

ในอีกหลายทศวรรษที่กำลังจะมาถึง จะมีผู้คนทั่วโลกจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนสมัยใหม่ ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ช่วยประหยัดเวลา เปิดธุรกิจใหม่ ๆ และต้องการตัวเลือกเพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่ง – ทั้งหมดนี้ต้องพึ่งพาการเข้าถึงพลังงานยุคใหม่ที่เชื่อถือได้และมีราคาเหมาะสม พลังงานนี้จะมอบโอกาสในการสร้างความเจริญมั่งคั่งและปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้คนหลายล้านคน ตัวอย่างเช่น เจ้าของธุรกิจอย่าง Endang ในอินโดนีเซีย ที่สามารถขยายธุรกิจต่าง ๆ และสร้างงานในท้องถิ่น เนื่องจากการเข้าถึงของพลังงานยุคใหม่

ความต้องการพลังงานของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

โลกต้องการพลังงาน ต้องขอบคุณเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เพราะมีการคาดการณ์ว่ากลุ่มประเทศสมาชิกขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) จะลดความต้องการในภาพรวมลงประมาณร้อยละ 5 และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานลงเกือบร้อยละ 25 อย่างไรก็ตาม ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ที่มีทั้งการเติบโตของประชากร ชนชั้นกลางที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น การเข้าถึงพลังงานยุคใหม่ได้มากขึ้น และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต จึงน่าจะส่งผลให้มีการใช้พลังงานมากขึ้น และช่วยขับเคลื่อนความต้องการของโลกในภาพรวมให้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ภายในปีพ.ศ.2583 จีนและอินเดีย เป็นสองประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จึงน่าจะมีส่วนในการใช้พลังงานประมาณครึ่งหนึ่งของความต้องการที่เติบโตนั้น

พลังงานของโลกเกือบครึ่งหนึ่งใช้ดำเนินงานด้านอุตสาหกรรม

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและความเป็นสังคมเมืองจะส่งผลให้มีการก่อสร้างบ้านเรือนและถนนใหม่ ๆ ตลอดจนการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าบ้าน เหล็ก ซีเมนต์และเคมีภัณฑ์เป็นสิ่งจำเป็นในการตอบสนองความต้องการเหล่านี้ และทุกวันนี้ยังต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีการใช้พลังงานมาก ความต้องการพลังงานจะเพิ่มขึ้นสูงลิ่วในประเทศอย่างเวียดนามและไทย ที่กำลังมีการใช้พลังงานมากขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์เติบโตอย่างรวดเร็วตามลำดับ แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ผู้ผลิตจะสามารถเพิ่มผลผลิตของตนโดยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปด้วยได้

น้ำมันและก๊าซธรรมชาติยังคงเป็นแหล่งพลังงานสำคัญและต้องการการลงทุนครั้งใหญ่

ทุกวันนี้มากกว่าครึ่งหนึ่งของพลังงานที่โลกใช้มาจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และเป็นไปได้ว่าแหล่งเหล่านี้จะจัดหาพลังงานให้กับโลกต่อไปด้วยดีในอนาคต เพราะด้วยทรัพยากรก๊าซที่มีอยู่ จะสามารถจัดหาพลังงานตอบสนองความต้องการในปัจจุบันได้อีกประมาณ 200 ปี อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้พลังงานก็เติบโตขึ้นด้วย ในปีพ.ศ.2560 การนำเข้าก๊าซธรรมชาติของเอเชีย-แปซิฟิกมีมากพอกับของยุโรปแล้ว เพื่อให้ตอบสนองความต้องการในอนาคตได้ต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการลงทุนด้านน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพื่อทดแทนการผลิตในปัจจุบันที่จะลดลงไปตามธรรมชาติ

ความต้องการใช้ไฟฟ้าของโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 60

 

คาดว่าความจำเป็นในการจัดหาไฟฟ้าสำหรับบ้านเรือน โรงงาน รถยนต์ไฟฟ้า และเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีจำนวนมากขึ้น จะเพิ่มความต้องการใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 60 ตลอดเวลาสองทศวรรษข้างหน้า ก๊าซธรรมชาติ แสงอาทิตย์ และลมจะเป็นแหล่งพลังงานที่เติบโตเร็วที่สุดและช่วยตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคต โดยก๊าซจะคอยสร้างสมดุลให้กับพลังงานทดแทนที่มีการผลิตได้ไม่ต่อเนื่อง ก๊าซไม่เพียงแต่จะได้รับความนิยมเนื่องจากมีราคาที่เหมาะสมและมีอยู่มากมาย ถ้าการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยก๊าซมาแทนที่โรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็จะทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึงร้อยละ 60 และก่อให้เกิดมลพิษน้อยลงอีกด้วย นี่คือเป้าหมายสำคัญสำหรับเอเชีย-แปซิฟิก โดยทั้งจีนและอินเดียได้มีการประกาศนโยบายของรัฐที่มุ่งลดหมอกควันและปรับปรุงคุณภาพอากาศ

การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานของโลกจะถึงจุดสูงสุด แต่ยังคงสูงกว่าสถานการณ์ 2 องศาเซลเซียสที่เคยประเมินไว้

คาดว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและแหล่งพลังงานที่มีคาร์บอนต่ำลงจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลง แต่ไม่มากพอที่จะเข้าสู่ทิศทาง 2 องศาเซลเซียส ยังคงจำเป็นต้องใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ และนโยบายเพิ่มเติม เพื่อให้บรรลุผลตามความคาดหวังของสังคมเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ เอ็กซอนโมบิลและพันธมิตรกำลังทำงานในส่วนของตนโดยร่วมกันพัฒนาแหล่งพลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำลง อย่างเชื้อเพลิงชีวภาพขั้นสูง และหาวิธีการใหม่ ๆ ในการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์

ธุรกิจการค้าและพาณิชย์จะขับเคลื่อนให้มีการใช้พลังงานในการขนส่งมากขึ้นกว่าร้อยละ 25

ขณะที่มีการคาดการณ์ว่ารถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริดและรถยนต์อื่น ๆ ที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จะวิ่งบนท้องถนนมากขึ้นเมื่อถึงปีพ.ศ.2583

แต่คาดว่าความต้องการพลังงานในภาพรวมของภาคการขนส่งจะยังคงเพิ่มขึ้น นี่เป็นเรื่องจริงโดยเฉพาะในภูมิภาคที่กำลังพัฒนา ซึ่งชนชั้นกลางกำลังเติบโตและจำเป็นต้องใช้การขนส่งเชิงพาณิชย์มากขึ้น ทั้งรถประจำทาง รถไฟ เครื่องบิน รถบรรทุกและเรือเดินทะเล ภายในปีพ.ศ.2583 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะมีส่วนในความต้องการใช้พลังงานเพื่อการขนส่งเชิงพาณิชย์ทั้งหมดประมาณร้อยละ 40 น้ำมันที่หาซื้อได้อย่างกว้างขวางและมีราคาเหมาะสมจะยังคงเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการขนส่ง

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

เชื้อเพลิงแห่งอนาคตทั้งห้า