ผู้นำภาครัฐและเอกชนจาก 21 ประเทศในแถบแปซิฟิกเข้าร่วมการประชุมสุดยอดความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย – แปซิฟิกในปี พ.ศ. 2561 ณ ประเทศปาปัวนิวกีนี (PNG) ในช่วงสัปดาห์นี้ โดยสถานที่จัดการประชุมเป็นสถานที่สำคัญที่เพิ่งสร้างเสร็จเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ณ บริเวณริมน้ำของเมืองพอร์ต มอร์สบี – อาคารซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมของประเทศที่เป็นเกาะแห่งนี้ และสะท้อนเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต

ไม่ถึงห้าปีนับตั้งแต่โครงการก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โครงการแรกของประเทศปาปัวนิวกีนีเริ่มต้นขึ้น การส่งออกพลังงานที่สูงขึ้น ได้ดึงดูดการลงทุนและการสำรวจอย่างต่อเนื่อง ช่วยสร้างงานที่ดีและนำมาซึ่งการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

“เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากที่ได้มาอยู่ในภูมิภาคที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาสำคัญนี้ เพราะเอเชีย – แปซิฟิกเป็นจุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21” นายนีล เอ. แช็ปแมน  รองประธานอาวุโสของเอ็กซอนโมบิล กล่าวในคำกล่าวเปิดการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 “ปริมาณก๊าซธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศปาปัวนิวกีนีได้นำพาโอกาสมากมายมาสู่เอเชีย – แปซิฟิก”

ประเทศที่เคยเป็นที่รู้จักว่าเป็นรัฐโดดเดี่ยว ที่มีภูมิประเทศขรุขระ มีประชากร 8 ล้านคน และภาษาพื้นเมืองมากกว่า 800 ภาษา เวลานี้ความสนใจจากนานาชาติที่มาพร้อมกับการประชุมเอเปค และความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาค ได้ทำให้ปาปัวนิวกีนี กลายเป็นจุดเด่นในฐานะประเทศที่กำลังจะผงาดขึ้น

ผู้สังเกตการณ์สามารถเห็นแนวทางการพัฒนาของประเทศได้จากโครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลวในปาปัวนิวกีนี อันทันสมัยมูลค่า 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ของเอ็กซอนโมบิล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ห้าจังหวัดจากไฮแลนด์ไปยังชายฝั่งใกล้พอร์ต มอร์สบี โดยในปี พ.ศ. 2560 โครงการดังกล่าวผลิตก๊าซธรรมชาติได้สูงถึง 8.3 ล้านเมตริกตันซึ่งมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 20 เมื่อโรงงานเริ่มดำเนินงานในปี พ.ศ. 2557

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เอ็กซอนโมบิล ได้ใช้เงินกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในการดำเนินงานเพื่อร่วมสนับสนุนบริษัทท้องถิ่นในโครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลวในปาปัวนิวกีนี และสนับสนุนศูนย์ธุรกิจของประเทศ ซึ่งมีความสามารถในการดูแลธุรกิจของประเทศปาปัวนิวกีนีมากกว่า 500 ประเภท และผู้ประกอบการในท้องถิ่นเกือบ 19,000 ราย

โครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติเหลวในปาปัวนิวกินี  สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการทางพลังงานของพอร์ต มอร์สบีได้ถึงร้อยละ 20 โดยมีกำลังการผลิตเหลือเพียงพอสำหรับคนรุ่นต่อไป และจะส่งผลดีผลไปทั่วเอเชีย – แปซิฟิก เมื่อเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำจากประเทศปาปัวนิวกีนี ได้ผนวกเข้ากับการส่งออกก๊าซธรรมชาติจากประเทศออสเตรเลีย ประเทศกาตาร์ และที่อื่น ๆ

“เมื่อมีการเขียนเรื่องราวของศตวรรษที่ 21 นักประวัติศาสตร์จะต้องนึกถึงภูมิภาคนี้ในฐานะต้นกำเนิดยุคทอง” แช็ปแมน  กล่าวสรุป “และพวกเขาจะจดจำประเทศปาปัวนิวกินี เพราะวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของเหล่าผู้นำประเทศ ผู้ซึ่งขับเคลื่อนความก้าวหน้าดังกล่าวให้เป็นจริง”

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

พลาสติกบางอย่างรีไซเคิลไม่ได้ แล้วการรีไซเคิลขั้นสูงจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่?