เอ็กซอนโมบิลพยายามทำให้ความคิดที่ยอดเยี่ยมจากผู้ประกอบการและนวัตกรในประเทศไทยบางส่วนเป็นจริงได้ ด้วยการทำงานผ่านบริษัทในเครือคือเอสไซ่ เปิดตัวโครงการ Esso Open Innovation Hackathon เป็นแพลตฟอร์มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าแข่งขัน นำเสนอและลงมือสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับลูกค้า

บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ RISE (สถาบันเร่งสปีดนวัตกรรม) จัดการแข่งขันทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ นักศึกษา และสตาร์ทอัพ พัฒนานวัตกรรมที่ใช้งานได้จริง รวมทั้งหาวิธีการใหม่ๆ ที่ทำให้บริษัทให้บริการได้ดีขึ้นในประเทศไทย

ผู้ชนะการแข่งขัน Esso Open Innovation Hackathon กำลังจะได้เห็นความคิดของตนกลายเป็นจริง โดยทีมที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัลเป็นเงิน 470,000 บาทอีกด้วย ความคิดริเริ่มเหล่านี้ มีตั้งแต่การนำเชื้อเพลิงไปสู่ชนบทของประเทศไทย การบริการที่ลดสัมผัสและการปรับใช้ประสบการณ์ด้านร้านอาหารเพื่อให้บริการที่รวดเร็ว เพื่อสร้างจุดให้บริการเพียงหนึ่งเดียวสำหรับสินค้าที่หลากหลาย

ให้คนได้ใช้พลังความคิด

วัตถุประสงค์ของ Hackathon คือการมองหาความคิดที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศไทย เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

“วัตถุประสงค์สำคัญของ Hackathon คือ การมองหาความคิดที่เป็นนวัตกรรม หรือความคิดริเริ่มที่มาจากมุมมองภายนอก มากกว่าจะเป็นการระดมความคิดจากภายในเท่านั้น” คุณเจษฎา ชั้นเชิงกิจ กรรมการและผู้จัดการฝ่ายการตลาดขายปลีก เอสโซ่ (ประเทศไทย) กล่าว

โดยเริ่มจากการถามผู้เข้าร่วมแข่งขันว่า จะสามารถนำข้อเสนอต่างๆ ของเอสโซ่ไปพัฒนาเพื่อมอบคุณค่าสูงสุดให้แก่ลูกค้าที่มองหาเชื้อเพลิงคุณภาพสูง และสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้า ในยุคที่มีความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้อย่างไร ซึ่งผู้แข่งขันทำได้โดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายและแนวทางใหม่ๆ ในการมีปฏิสัมพันธ์และให้บริการแก่ลูกค้า

“ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ คุณต้องก้าวให้เร็ว การเรียนรู้ด้วยมุมมองจากภายนอกจึงสำคัญมากสำหรับเรา มันช่วยให้เราก้าวได้เร็ว และคิดได้แตกต่าง เพื่อที่จะยังสามารถแข่งขันและปรับตัวได้” เขากล่าว

เอ็กซอนโมบิลจัดโครงการให้เสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศไทย ด้วยการทำงานผ่านบริษัทในเครือคือเอสโซ่

ชีวิตและโลกหลัง COVID ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำหรับบริษัท ที่ไม่มีการติดต่อหรือติดต่อกันได้น้อย เป็นสิ่งที่ผู้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายต้องนำมาพิจารณา

มีทีมมากกว่า 120 ทีมเข้าร่วมการแข่งขันนี้ โดยมีคุณเจษฎาและทีมงานจากเอสโซ่ ค่อยๆ คัดจนเหลือแค่ 20 ทีมในการแข่งขันรอบแรก และลดลงเหลือ 10 ทีม ก่อนการคัดเลือกทีมผู้ชนะสามทีมสุดท้าย

เขากล่าวว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะคัดออกให้เหลือผู้ชนะแค่สองสามราย เนื่องจากผู้เข้าแข่งขันต่างก็มีความสามารถสูง

“มีความคิดที่เป็นนวัตกรรมมากมาย แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้งานได้จริง ในการคัดเลือก เราจึงต้องดูที่การนำไปใช้ได้จริง ทำให้เป็นไปได้จริงในระยะเวลาที่สั้นมาก ไม่ใช่ในอีก 5-10 ปี ข้างหน้า แต่เป็นแค่อีกหนึ่งหรือสองปี” เขากล่าว

คุณเจษฎาเสริมว่าผู้ชนะทั้งสามรายทำให้ข้อเสนอของบริษัทมีมิติที่แตกต่างกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนำไปใช้ให้เกิดผลได้ทันที

นวัตกรรมใหม่ที่ได้จากโครงการ Hackathon ในประเทศไทย คือเทคโนโลยีนาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์อัจฉริยะ

ผู้ชนะกลุ่มแรกพัฒนากระบวนการที่มุ่งปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากจุดขายเข้ากับนาฬิกาข้อมือหรือโทรศัพท์อัจฉริยะ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นว่าเชื้อเพลิงกำลังเติมลงถังไปกี่ลิตรแล้ว และเข้าใจการใช้เชื้อเพลิงของตนได้ดียิ่งขึ้น

“ลูกค้าสามารถเลือกผลิตภัณฑ์น้ำมันและบริการต่างๆ ได้ล่วงหน้า ดังนั้น เมื่อมาถึงสถานีบริการน้ำมัน นาฬิกาข้อมืออัจฉริยะจะช่วยให้รับบริการได้ทันที และยังเหมาะกับชีวิต “วิถีใหม่” ใหม่ในยุค COVID-19 ด้วยการเพิ่มแอปพลิเคชันที่จะลดการสัมผัสกัน” คุณเจษฎาชี้แจง

กลุ่มที่ 2 มุ่งช่วยชุมชนต่าง ๆ ในชนบทให้เข้าถึงพลังงานด้วย “สถานีบริการน้ำมันขนาดเล็ก” ที่มีหัวจ่ายยืนอยู่เดี่ยว ๆ กับ CCTV ในพื้นที่ที่ ไม่จำเป็นต้องมีสถานีบริการน้ำมันแบบครบวงจร

ทีมสุดท้ายที่ชนะการแข่งขันเน้นที่ความต้องการของผู้บริโภคในโลกยุคหลัง COVID โดยผสมผสานการปฏิบัติงานและบริการเร่งด่วนของร้านอาหารเข้ากับพื้นที่ว่างหลังลานของสถานีบริการน้ำมัน โดยรวมรวมสินค้าจากตลาดต่างๆ ไว้ให้มาแวะรับได้ในจุดเดียว

“เป็นแนวคิดที่ได้จากสิ่งที่เกิดขึ้นในตลาดอยู่แล้ว แต่บิดให้เป็นนวัตกรรมมากขึ้นอีกนิด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคยุคใหม่” คุณเจษฎากล่าว

นอกจากสามแนวคิดที่ชนะการแข่งขันแล้ว อีกแนวคิดหนึ่งที่จะมีการนำไปทดสอบต่อเพื่อดูศักยภาพในระยะยาว คือการจัดการพื้นที่จอดรถในสถานีบริการน้ำมัน

บริษัทสนใจที่จะจัดโครงการนวัตกรรมใหม่ในประเทศไทยแบบนี้ให้มากขึ้นในอนาคตในเมืองใหญ่ๆ ของไทย พื้นที่จอดรถมักมีไม่เพียงพออยู่บ่อยๆ หลายคนจึงทิ้งรถไว้ในที่จอดรถของสถานีบริการน้ำมัน แล้วไปซื้อของที่อื่น แนวคิดที่ว่านี้จะทำให้เอสโซ่จัดการพื้นที่จอดรถสำหรับลูกค้าที่มารับบริการจริงๆ ได้

ขั้นตอนแรกสำหรับอนาคต

คุณเจษฎากล่าวถึงความสำเร็จของ Hackathon ที่เปิดตัวในครั้งนี้ว่า ทำให้บริษัทสนใจที่จะจัดโครงการแบบนี้ให้มากขึ้นในอนาคต รวมทั้งสร้างแพลตฟอร์มสำหรับผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่เป็นคนไทย

“เป็นครั้งแรกที่เราทำโครงการนี้ แต่จะไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เราชอบ Hackathon และได้ความคิดดีๆ มากมาย” เขากล่าว

เขาเสริมว่ายังมุ่งเน้นให้ Hackathon มีทรัพยากรที่จะสนับสนุนความคิดเหล่านี้ และนำมาทำให้เกิดผลอีกด้วย

หนึ่งในผลลัพธ์เชิงบวกก็คือ มันช่วยให้คนคิดถึงบริษัทต่างไปจากเดิม

“เราอยู่กับคนไทยมานานหลายปี และคนส่วนมากรู้จักเราแค่เรื่องเดียว เรารักแบรนด์ของเรา แต่ Hackathon ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ดีสำหรับเราที่จะโฆษณาบริษัทกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ และแสดงให้เห็นว่าเรากำลังพยายามส่งเสริมนวัตกรรมอย่างไร” คุณเจษฎากล่าว

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

เมื่อโลกเข้าสู่ยุค New Normal การฝึกอบรมพนักงานก็เปลี่ยนไป
พบกับครอบครัว “ชาวเสือ” ในประเทศไทย