ถ้าบอกว่าท้องฟ้าคือข้อจำกัดละก็  การหาวิธีแก้ปัญหาด้วยความคิดสร้าวสรรค์และนวัตกรรมคงจะไปได้ไม่หยุดยั้ง

เมื่อบริษัทพลังงานอย่างเอ็กซอนโมบิล จำเป็นต้องทำบัญชีรายการสิ่งของหรือตรวจยอดสินค้าคงคลังประจำปีของส่วนจัดเก็บโพลิเมอร์ในโรงงานปิโตรเคมีที่สิงคโปร์ (SCP) เมื่อปีที่แล้ว พวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรคข้อหนึ่ง นั่นก็คือโควิด-19

ปกติแล้วการตรวจยอดสินค้าคงคลังนี้ จะใช้คนงานจากภายนอกจำนวนมากเข้ามาที่โรงงาน เพื่อนับและยืนยันความถูกต้องของวัตถุดิบและสินค้าที่ลงบัญชีเอาไว้ที่โรงงาน

และเมื่อบริษัทต้องการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยการจำกัดจำนวนบุคคลภายนอกที่เข้ามาในโรงงานให้น้อยที่สุด

เอ็กซอนโมบิลจึงหาวิธีที่จะเอาชนะปัญหานี้ด้วย โดรน

การใช้ดวงตาบนท้องฟ้านับและติดตามวัสดุต่างๆ ทำให้บริษัทไม่เพียงแต่จะลดความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับโควิดได้เท่านั้น แต่ยังได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากการลดค่าใช้จ่าย และการนับที่แม่นยำมากขึ้นอีกด้วย

มีการนำโดรนมาใช้โดยทีมจากหลายแผนกที่ทำงานร่วมกัน ได้แก่ กลุ่มต่าง ๆ จากฝ่ายโลจิสติกส์ บริการวิศวกรรม IT และฝ่ายควบคุม

ในการนับวัตถุดิบและสินค้ากว่า 150,000 ตันได้สำเร็จ โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงหนึ่งในสี่ของค่าใช้จ่ายปกติเท่านั้น

นอกจากนี้ ความแม่นยำของการนับสินค้าคงคลังครั้งแรก ยังเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 10

การใช้โดรนบนท้องฟ้า แทนที่จะเป็นคนบนพื้นดิน ทำให้พนักงานสามารถจำกัดการสัมผัสโควิด-19 และเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบสินค้าคงคลังได้

บริษัทรายงานว่า งานนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี ช่วยลดการสัมผัสโควิด-19 และยังสอดคล้องกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ความต้องการของผู้ตรวจสอบจากภายนอก

มารีลิน เปย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งและจัดการโพลิเมอร์ ซึ่งเป็นผู้นำในการวางแผนและดำเนินการตรวจยอดสินค้าคงคลัง กล่าวว่า “โรคระบาดเปิดโอกาสห้เรากล้าออกจากคอมฟอร์ตโซน เปลี่ยนวิธีที่เราทำงานและให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ดิฉันได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากแผนกต่าง ๆ ที่ช่วยกันจนงานสำเร็จได้อย่างน่าทึ่ง”

พอลีน ชาน ผู้จัดการด้านควบคุมของ SCP ซึ่งดูแลการกำกับกิจการในกระบวนการดำเนินธุรกิจที่โรงงาน กล่าวถึงการใช้โดรนว่ามีประโยชน์อย่างเห็นได้ชัด และโดรน “จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จำเป็นต่อกิจกรรมตรวจสอบยอดสินค้าคงคลังในอนาคต”

เธอกล่าวเสริมว่าขีดความสามารถในการตรวจสอบ และความโปร่งใสของข้อมูลสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ตั้งแต่โดรนเครื่องที่หนึ่งยกตัวขึ้นสู่ท้องฟ้า

“ข้อมูลที่บันทึกเป็นวีดิทัศน์มีความชัดเจน เป็นหลักฐานสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ ทำให้กระทบยอดได้ง่ายตลอดการปฏิบัติงาน ที่สำคัญที่สุดคือมีอัตราความแม่นยำสูงมากตั้งแต่การนับครั้งแรก” ด้วยแผนที่มีรายละเอียด และการประสานงานกันอย่างแข็งขัน ทำให้ไม่มีอะไรเล็ดรอดการตรวจสอบไปได้

มานิช บาเฮติ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบและอุปกรณ์ถาวร กล่าวว่า ความสำเร็จของโดรนในการตรวจยอดสินค้าคงคลัง เกิดจากการวางแผนมาเป็นอย่างดีก่อนการใช้งาน โดยมีการทดลองภาคสนามหลายครั้ง ทำให้ทีมเกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของเทคโนโลยี ก่อนการปฏิบัติงานจริง

มานิช ซึ่งเป็นผู้นำโครงการที่ผลักดันการใช้เทคโนโลยีโดรน เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติงานที่โรงกลั่นน้ำมันและโรงงานปิโตรเคมีที่สิงคโปร์ที่มีการทำงานร่วมกัน และเป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเอ็กซอนโมบิล กล่าวเสริมว่า “มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยี แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงพฤติกรรมของทีมที่เปิดใจมอง พร้อมกับมีความมุ่งมั่นพยายาม คิดนอกกรอบ ต้องการเป็นแนวหน้าในการใช้นวัตกรรม และสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการทำงาน”

การคิดนอกกรอบนี้ยังเห็นได้ชัดในจุดอื่น ๆ ในโรงงานที่สิงคโปร์ นอกเหนือจากการตรวจยอดสินค้าคงคลังที่ โดรนถูกนำมาใช้งานเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและความสามารถในการผลิต แล้ว

แต่ยังมีการนำโดรนมาใช้ตรวจสอบหอสูงเสียดฟ้า เพื่อไม่ให้พนักงานต้องปีนหอสูงต่างๆ ด้วย

เอ็กซอนโมบิลในสิงคโปร์ เป็นผู้นำในการใช้โดรน โดยทีมของประเทศนี้เป็นหนึ่งในทีมแรก ๆ ของบริษัท ที่พัฒนาทักษะในการนำร่องใช้งานโดรนและตรวจสอบอุปกรณ์ พวกเขาได้พัฒนามาตรฐานความปลอดภัยทั่วโรงงานขึ้นใหม่ สำหรับการปล่อยโดรนขึ้นทำงาน ซึ่งสามารถนำไปปฏิบัติได้ทั่วโลก ใบอนุญาตสำหรับผู้บังคับโดรน ซึ่งออกโดยสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศสิงคโปร์ ทำให้นักบินที่มีคุณสมบัติครบถ้วนในบริษัทสามารถใช้งานโดรนได้

เอ็กซอนโมบิลยังใช้โดรนในโรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ในประเทศไทยเช่นกัน

ที่โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ศรีราชา มีการใช้โดรนสําหรับการตรวจสอบและซ่อมบํารุง ถังและหอเอมีน เพื่อลดเวลาการตรวจสอบอุปกรณ์ ทำให้งานซ่อมบำรุงมีขอบข่ายที่ความเหมาะสมและเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน

โดรนยังถูกใช้เพื่อตรวจสอบสภาพด้านในของท่อที่หอหนึ่งซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้นับตั้งแต่เริ่มใช้งานในนปี พ.ศ. 2537

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

การใช้โดรนและหุ่นยนต์ ในกระบวนการผลิตแบบดิจิทัล