หินทางธรณีวิทยา

มันเป็นส่วนสำคัญของชีวิตประจำวันและช่วยให้เข้าใจประวัติศาสตร์ของโลกได้อย่างลึกซึ้ง ลองนึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกบางอย่าง กำแพงเมืองจีน ทัชมาฮาล แกรนด์แคนยอน ภูเขาเอฟเวอร์เรสต์ หรือ แนวปะการังยักษ์ (Great Barrier Reef) ความงดงามเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการก่อตัวของหินและแร่ประเภทต่าง ๆ

แต่ธรณีวิทยาขยายขอบเขตออกไปไกลเกินกว่าสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เป็นสาขาวิชาที่มีการนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างน่าตื่นเต้นในชีวิตประจำวันของเราด้วย ตั้งแต่อัญมณีบนเครื่องประดับ ไปจนถึงวัสดุที่ใช้สร้างบ้านเรือน และการค้นหาพลังงานขับเคลื่อนโลก ลองดูข้างล่างนี้เพื่อค้นพบคุณค่าบางประการที่ซ่อนอยู่ในงานธรณีวิทยาและผู้คนที่ศึกษาเรื่องนี้

  1. นักธรณีวิทยาเป็นคนที่รอบรู้

เราอาจนึกถึงพวกเขาในฐานะผู้เชี่ยวชาญเรื่องหิน แต่นักธรณีวิทยาไม่ได้ศึกษาเฉพาะเรื่องหินเท่านั้น ยังตรวจสอบการเคลื่อนที่ของหินตลอดช่วง 4,500 ล้านปีของประวัติศาสตร์โลก ต้องเป็นคนที่ฉลาดจริง ๆ ถึงจะรับมือกับเรื่องลึกลับทั้งหมดของโลกได้

  1. นักธรณีศาสตร์มีความสามารถพิเศษในการใช้คำ

การพูดภาษา “ธรณี” จึงเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง และลาตินกับกรีกโบราณก็ไม่ใช่ภาษาที่ตายแล้วสำหรับนักธรณีวิทยา แม้แต่ฮาวายยังเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับในแนวหน้า อย่าง “ปาโฮอีโฮอี” ซึ่งหมายถึงผิวหน้าลาวาแบบเกลียวเชือกที่ก่อตัวเมื่อด้านบนของลาวาเย็นลง ขณะที่ใต้พื้นผิวยังคงมีลาวาไหลอยู่

จากวิทยาแร่ (การศึกษาเรื่องแร่) จนถึงภูมิมาตรศาสตร์ (คณิตศาสตร์ว่าด้วยขนาดและรูปร่างของโลก) การลำดับชั้นหิน (การวิเคราะห์ลำดับและตำแหน่งของชั้นหินหรือสตราตา) และศิลาวิทยา (การศึกษาจุดกำเนิดของหิน) นักธรณีวิทยาที่มีความสนใจเฉพาะทาง จะต้องไม่ขาดความเชี่ยวชาญด้านใดเลย

  1. หินไม่ได้เป็นเพียงสิ่งของอย่างหนึ่ง

นประกอบด้วยส่วนผสมของแร่และโลหะที่หลากหลาย และด้วยแร่ธาตุที่มีมากกว่า 4,000 ชนิดในโลกนี้ จึงเกิดการรวมตัวได้อย่างมากมายมหาศาลให้นักธรณีวิทยาได้ศึกษา ตั้งแต่รัตนชาติจนถึงโลหะมีค่าต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม แร่ธรรมดาที่สุดที่คุณน่าจะรู้จักคือแร่เขี้ยวหนุมาน (ควอตซ์) ที่ส่องประกายแวววาว ก่อตัวเป็นหาดทรายอยู่หลายแห่งในโลก

  1. อย่างไรก็ตาม…มีการแบ่งประเภทหิน  พูดให้ชัดเจนคือมีสามประเภท

ได้แก่ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร ทั้งหมดนี้เป็นหมวดหมู่ที่นักธรณีวิทยาใช้จำแนกความแตกต่างของหินแต่ละประเภท หินอัคนีอย่างหินบะซอลต์และหินแกรนิต เกิดจากหินหนืด (แมกมา) ที่หลอมละลายแล้วแข็งตัว หินชั้นอย่างหินดินดาน หินทรายและหินปูน จะก่อตัวจากตะกอนที่ทับถมและอัดเกาะแน่นจนกลายเป็นหิน ส่วนหินแปรก็สมชื่อของมัน คือเป็นหินที่เกิดจากการแปรสภาพเนื่องจากความร้อน แรงดัน หรือการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจนกลายเป็นหินชนิดใหม่ ตัวอย่างเช่น หินอ่อน ซึ่งแปรสภาพมาจากหินปูน

  1. หินส่วนใหญ่มีจุดกำเนิดที่ร้อนเป็นไฟ พูดถึงแมกมา แร่ต่าง ๆ

เกิดจากกระบวนการที่เริ่มต้นด้วยภูเขาไฟระเบิด หลังจากนั้นลาวาที่เย็นลงจะแข็งตัวกลายเป็นแร่หลายชนิดบนโลก อันที่จริง ในวงการธรณีวิทยา เป็นที่รู้กันว่าภูเขาไฟคือสถาปนิกของโลก เพราะเป็นผู้สร้างพื้นผิวโลกมากกว่าร้อยละ 80 ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมีภูเขาไฟที่ยังมีพลังมากที่สุดในโลก มีชาวอินโดนีเซียมากกว่า 8.6 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตรรอบภูเขาไฟ และชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร้อยละ 84 ก็อาศัยอยู่ในรัศมี 100 กิโลเมตรรอบภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่[1]

  1. ว่ากันตามตรง หินเป็นฐานรากของประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง

บันทึกแห่งกาลเวลาถูกเก็บรักษาไว้ในการก่อตัวทางธรณีวิทยาที่อยู่รอบตัวเรา ฟอสซิลต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพถ่ายของอดีต ขณะที่การก่อตัวและเคลื่อนที่ของหินบอกเล่าเรื่องราวว่าเกิดอะไรขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ ทั้งหมดถูกเผยให้เห็นบนแผนที่สำหรับให้นักธรณีวิทยาอ่านแล้วอ่านอีก เพื่อให้เกิดความเข้าใจใหม่ ๆ ที่ลึกซึ้ง

  1. นักธรณีวิทยาคือนักสืบของโลก แกะรอยจากเบาะแสต่าง ๆ

ค้นหาความจริงจากหินโดยใช้ข้อมูลสร้างแผนที่ขึ้นมา ผสมผสานงานในห้องปฏิบัติการกับงานภาคสนามเพื่อการทำนาย ทังหมดนี้ คือ งานของนักธรณีวิทยา

  1. นักธรณีวิทยายังเป็นผู้เสาะหาพลังงาน

นักธรณีวิทยาสำรวจ ได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ต้องใช้ความพยายามเพื่อการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ในโลกพลังงานต่อไป โดยใช้แผนที่ ข้อมูลการวัดคลื่นไหวสะเทือนและแม้แต่โมเลกุลต่าง ๆ บทบาทของพวกเขาในเอ็กซอนโมบิล อาจนำพวกเขาไปสู่ไฮแลนด์ในปาปัวนิวกินี หรือ นอกชายฝั่งกายอานา ที่พวกเขาจะมีส่วนสำคัญในการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

พลาสติกบางอย่างรีไซเคิลไม่ได้ แล้วการรีไซเคิลขั้นสูงจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่?