จากหาดทรายกว้างสีทองของอ่าวพระนางที่กระบี่ ไปจนถึงหาดสวยที่ซ่อนตัวอยู่ห่างไกลอย่างเกาะกูด หรือศูนย์รวมนักท่องเที่ยวอย่างบางแสน ชายหาดต่าง ๆ ที่งดงามราวกับภาพวาดของประเทศนี้ ดึงดูดผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก

แต่เพราะผู้มาเยือนมีจำนวนมากมายในแต่ละปี และใช่ว่าคนทั้งหมดนี้จะช่วยกันรักษาชายหาดให้คงความสวยงามไว้เหมือนแรกเจอ

ขยะจำนวนมากบนชายหาดของประเทศไทย มาจากนักท่องเที่ยว, แม้จะมีการประกาศห้ามทิ้งขยะเรี่ยราด จับปรับ และใช้ขั้นตอนที่น่าอับอาย อย่างส่งขยะกลับไปให้คนทิ้ง ก็มีผลน้อยมากต่อการลดจำนวนขยะบนผืนทราย

อย่างไรก็ตาม เยาวชนไทยได้ใช้วิธีการที่เป็นนวัตกรรม เพื่อช่วยรักษาความงามบริสุทธิ์ตามธรรมชาติของชายหาดต่าง ๆ และเอาชนะขยะด้วยการใช้หุ่นยนต์

เยาวชนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายซึ่งมีวัตถุประสงค์สองประการ คือการพัฒนาทักษะด้าน STEM และทำงานเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

หุ่นยนต์ถูกพัฒนาขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน สำหรับเยาวชนจากโรงเรียนในท้องถิ่นของจังหวัดชลบุรี การแข่งขันถูกออกแบบให้เป็นการปลูกฝังทักษะทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) ไปตลอดชีวิต โดยสอนสมาชิกในค่ายให้สร้างและเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ที่สามารถกวาดพื้นผิวชายหาดเพื่อเก็บขยะ

ความคิดริเริ่มด้าน STEM นี้ มีสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลของมหาวิทยาลัยบูรพา และเอสโซ่ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทพลังงานอย่างเอ็กซอนโมบิลในประเทศไทย ร่วมกันเป็นผู้นำในการดำเนินงาน และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันงานสองด้าน คือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในวงกว้าง กับงานที่ใช้ความเชี่ยวชาญทางดิจิทัลไปทั่วประเทศ

“การทิ้งขยะในท้องทะเลและตามชายฝั่ง เป็นหนึ่งในปัญหาอันดับต้น ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก และในประเทศไทยเองก็มีความกังวลในเรื่องนี้อย่างจริงจังมานานหลายปี มันส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล และคุณภาพชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่ง” ศาสตราจารย์จันทร์จรัส วัฒนโชติ จากสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา อธิบาย

“นักเรียนเหล่านี้ได้สร้างต้นแบบที่จะเอาชนะปัญหา ด้วยการเก็บรวบรวมขยะที่ถูกทิ้งไว้เกลื่อนกลาด เรื่องนี้จำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาต่อไป เพื่อให้นำมาใช้ในชีวิตจริงบนหาดทรายที่เต็มไปด้วยผู้คนได้”

หุ่นยนต์ถูกออกแบบให้เก็บรวบรวมขยะออกจากหาดทราย

อาจารย์เสริมว่า โครงการนี้ยังช่วยให้นักเรียนพัฒนาทักษะ ที่จะทำให้ประเทศไทยหาทางแก้ปัญหาได้เองในประเด็นอื่น ๆ ด้านการอนุรักษ์ที่มีผลกระทบต่อประเทศ

อาจารย์จันทร์จรัสกล่าวว่า โครงการนี้กำลังสร้างรากฐานสำหรับพัฒนาความสามารถด้านอุตสาหกรรมดิจิทัลให้แก่ประเทศไทย และช่วยให้ “รัฐบาลตั้งเป้าหมายสำหรับวิทยาการหุ่นยนต์ให้เป็นหนึ่งใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่จะได้รับการสนับสนุนให้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยประเทศมุ่งผลิตหุ่นยนต์ให้ได้ครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่จะใช้งานในประเทศภายในปีพ.ศ.2564

ดร.ทวีศักดิ์ บรรลือสินธุ์ กรรมการ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขยะเป็นปัญหาระดับโลก และเป็นเรื่องสำคัญที่จะพัฒนาทักษะในบ้านเรา เพื่อเอาชนะปัญหานี้

เขากล่าวว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้เอสโซ่สนับสนุน STEM และความคิดริเริ่มทางการศึกษา เพื่อมอบพลังให้อยู่ในมือของประชาชน

“โครงการนี้มีประโยชน์มาก สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ให้ตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม” ดร.ทวีศักดิ์กล่าว

“มันยังขับเคลื่อนให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ขึ้นมาเอง เพื่อช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ในกรณีนี้ ก็ด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาช่วยส่งเสริมนวัตกรรม เราต้องการกระตุ้นให้เยาวชนกลายเป็นนักคิด ชนิดที่สามารถประดิษฐ์หุ่นยนต์ได้ และยังสามารถช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชนของตนอีกด้วย”

ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวว่า ค่าย STEM ให้ประสบการณ์ตรงจากการทำงานแก่เยาวชน เพื่อนำไปแก้ปัญหาในโลกของจริง

ค่ายยังจัดการแข่งขัน หาหุ่นยนต์ที่ดีที่สุดอีกด้วย

“เด็ก ๆ บางคนที่มาร่วมกิจกรรมค่ายครั้งนี้ ไม่เคยมีประสบการณ์สร้างหุ่นยนต์ หรือมองปัญหาเช่นนี้มาก่อน แต่เพราะการสนับสนุนของเอ็กซอนโมบิลในการจัดโครงการนี้ขึ้นมา ทุกวันนี้ เด็ก ๆ สามารถสร้างหุ่นยนต์และพัฒนาทักษะเหล่านี้ให้ก้าวหน้าต่อไป” เขากล่าว

“มันให้ประสบการณ์ที่ดีแก่เยาวชนของชาติ ให้พวกเขามีความสามารถที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ”

จากความสำเร็จของการจัดค่ายเยาวชนครั้งแรก ตอนนี้อาจจะกำลังมีการวางแผนโครงการคล้าย ๆ กันนี้ สำหรับอนาคตอยู่ก็เป็นได้

คนไทยกำลังพยายามควบคุมเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง โดยใช้วิธีแก้ปัญหาที่พัฒนาขึ้นในท้องถิ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยบูรพาและเอ็กซอนโมบิล เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่าสำหรับประเทศของเรา

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

พลาสติกบางอย่างรีไซเคิลไม่ได้ แล้วการรีไซเคิลขั้นสูงจะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้หรือไม่?