เอ็กซอนโมบิลใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถทางด้านนวัตกรรม ความเชี่ยวชาญในวิธีการแก้ปัญหา เพื่อนำ ไปสู่คาร์บอนต่ำ และความสามารถในการร่วมพัฒนา ทางออกเพื่อช่วยในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของ เอเชีย

ก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำด้านอนาคตพลังงานแห่ง เอเชีย (Future Energy Asia Summit) ซึ่งจัดขึ้นในประเทศไทย เออร์ทิซา ไซยิด ประธาน ExxonMobil Low Carbon Solutions Asia Pacific ได้กล่าวถึง แนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อภาคพลังงานของเอเชีย เช่น ศักยภาพการเติบโตในด้านการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน (CCS) ความสำคัญของการร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมและรัฐบาลเพื่อสร้างนโยบายที่เกิดประโยชน์ และวิธีการทำงานของเอ็กซอนโมบิลในการช่วยให้ ภูมิภาคนี้ เข้าสู่เส้นทางคาร์บอนต่ำ

Energy Factor (EF): การเติบโตระดับโลกอย่างก้าวกระโดดของวิธีการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่คาร์บอนต่ำที่คาดการณ์ไว้ ในอีกหลายปีข้างหน้าจะทำให้เกิดโอกาสใดบ้าง สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก?

เออร์ทิซา ไซยิด (IS): เอเชียแปซิฟิกเป็นตลาด ที่โดดเด่น มีประชากรในภูมิภาคนี้ประมาณ 50% และคาดว่าการขยายตัวของ GDP จะสูงที่สุดในโลกในอีก 20 ปีข้างหน้า องค์ประกอบสำหรับวิธีการคาร์บอนต่ำนั้นมีพร้อมแล้ว และจะช่วยลดการปล่อย คาร์บอนในขณะที่ตอบสนองความต้องการพลังงาน ที่เพิ่มมากขึ้นได้ตราบเท่าที่มีนโยบายที่เหมาะสม

วิธีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน

หนึ่งในวิธีการสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอน คือการดักจับและกักเก็บคาร์บอนหรือ CCS เราเชื่อว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศักยภาพในการเป็นที่ตั้งศูนย์ CCS ซึ่งสามารถกักเก็บ CO2 ในปริมาณล้านๆ ไปจนถึงพันๆ ล้านตัน จากแหล่งปล่อยคาร์บอน ขนาดใหญ่ในภูมิภาคนี้ได้อย่างถาวร

นอกจากนี้เรายังเห็นว่าเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ เช่น ไฮโดรเจนและแอมโมเนียสามารถทดแทนเชื้อเพลิงที่มีการปล่อยคาร์บอนสูง เช่น ถ่านหินได้

EF: เทคโนโลยี CCS และเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ เช่น ไฮโดรเจน มีบทบาทสำคัญเพียงใดในการขับเคลื่อน การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในเอเชียแปซิฟิก?

IS: หนึ่งในเหตุผลหลักที่เอ็กซอนโมบิลมุ่งเน้นไปที่ CCS, ไฮโดรเจน และแอมโมเนียก็เนื่องด้วยเทคโนโลยีเหล่านี้ จัดการปัญหาของภาคส่วนที่ยากจะลดปริมาณคาร์บอนได้ เช่น อุตสาหกรรมหนัก ปูนซีเมนต์ และการผลิตเหล็ก ซึ่งเป็นอุตสหกรรมที่ปล่อยคาร์บอนส่วนใหญ่ของโลก

อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้อุณหภูมิสูงมากในกระบวนการผลิตซึ่งวิธีเดียวที่จะสร้างอุณหภูมิสูงขนาดนั้นได้ คือการใช้ไฮโดรคาร์บอนหรือพลังงานนิวเคลียร์ และหากเราคาดคะเนว่าพวกเขาน่าจะใช้ไฮโดรคาร์บอนมากกว่า ฉะนั้นทางออกเดียวเพื่อลดปริมาณคาร์บอน ในอุตสาหกรรมเหล่านี้คือการใช้ CCS หรือไฮโดรเจน

คาร์บอนที่ดักจับได้จากอุตสาหกรรมเหล่านี้สามารถขนส่งไปยังพื้นที่ที่กักเก็บได้โดยถาวร เป็นการลดการปล่อยคาร์บอน ได้อย่างปลอดภัยก่อนที่จะหลุดเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ

เมื่อจับคู่กับ CCS  ไฮโดรเจนอาจมีบทบาทสำคัญในระบบ พลังงานคาร์บอนต่ำ และมีศักยภาพมหาศาลในการลดปริมาณ คาร์บอนสำหรับภาคส่วนที่มีการปล่อยคาร์บอนในปริมาณมาก เช่น การผลิตเหล็กและปูนซีเมนต์ ซึ่งยากที่จะหันไปใช้ไฟฟ้า

EF: จากโอกาสที่มีมากมาย อะไรคือความท้าทายที่ CCS ต้องเผชิญในเอเชียแปซิฟิก?

 IS: เอเชียแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความหลากหลายทาง ภูมิศาสตร์ ประกอบไปด้วยการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับ ที่แตกต่างกัน เรามีมวลแผ่นดินจำนวนมากที่ไม่ได้เชื่อมต่อกัน ทำให้เราต้องพึ่งพาการขนส่ง วิธีที่เราแก้ปัญหาความท้าทาย ทางภูมิศาสตร์เหล่านี้ในเอเชียแปซิฟิกจะแตกต่างไปจากวิธีที่ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือหรือยุโรปเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องมีแนวทางเฉพาะสำหรับภูมิภาคนี้

ในด้านนโยบาย หลายประเทศอาจมองไปที่นโยบายต่างๆ ของสหรัฐฯ เช่น กฎหมายเพื่อปรับลดอัตราเงินเฟ้อและภาษี ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีเฉพาะบางส่วนเท่านั้นที่สามารถนำมาใช้ในภูมิภาคนี้ได้

ที่จริงแล้วโครงสร้างดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพและไม่สนับสนุนการสร้างนโยบายสำหรับตลาดเกิดใหม่ แต่เราสามารถออกแบบ นโยบายเฉพาะที่เกิตจากความร่วมมือกันเพื่อสนับสนุนกรอบการทำงานที่เหมาะสมเพื่อการกักเก็บ COในภูมิภาคนี้ โดยนโยบายดังกล่าวแล้ว จะช่วยให้เกิดการไหลเวียนของ CO2 จากผู้ปล่อยไปยังสถานที่กักเก็บ รวมถึงเชื่อมต่อกับห่วงโซ่คุณค่า ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

EF:  อะไรคือสิ่งจำเป็นเพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้ และสนับสนุน CCS รวมถึงเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ ในเอเชียแปซิฟิก และเอ็กซอนโมบิลจะช่วยเร่งการเดินทางไปสู่การลดปริมาณคาร์บอนได้อย่างไร?

IS: องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งคือการทำความเข้าใจลักษณะใต้พื้นดิน การเข้าใจว่าปริมาตรช่องว่างทำงานอย่างไร สิ่งสำคัญ คือ เราเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีที่จัดการ และเปลี่ยนแปลงโมเลกุลในปริมาณมาก ความรู้ที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับ คุณลักษณะของที่กักเก็บ และความเชี่ยวชาญใต้ผิวดินด้านอื่นๆ ของเราที่จำเป็นต่อการฉีด CO2 ลงใต้ดินอย่างปลอดภัย และถาวร จะเป็นข้อได้เปรียบที่โดดเด่น นอกจากนี้  CCS ยังไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่เป็นสิ่งที่เราได้ดำเนินการมาเป็นเวลาเกือบ 30 ปีแล้ว จนถึงปัจจุบัน ExxonMobil ดักจับเกือบ 40% ของ CO2 ทั้งหมดที่มนุษย์ปล่อยออกมา และที่ผ่านมาเราได้พัฒนาวิธีการนี้ให้สมบูรณ์แบบ

การทำงานร่วมกับอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันวิชาการในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ ช่วยเร่งการแก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่คาร์บอนต่ำใน APAC

เมื่อพูดถึง CCS ระดับภูมิภาค เรากำลังพิจารณาถึง CO2 ปริมาณหลายสิบล้านตันที่ต้องดักจับและกักเก็บ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการโครงการและความสามารถในการ ดำเนินการที่สำคัญ เรามีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยี มาปรับขนาด อีกทั้งความสามารถในการสร้างโครงการ ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อน และเราพร้อมที่จะเป็นผู้นำในการ ลดปริมาณคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อีกแง่มุมหนึ่งคือการพัฒนานโยบายข้ามพรมแดนซึ่งเป็น นโยบายเฉพาะสำหรับเอเชียแปซิฟิก ด้วยประสบการณ์ที่กว้างขวางในระดับโลก เอ็กซอนโมบิลมีข้อได้เปรียบที่โดดเด่นสำหรับบทบาทการสนับสนุนการพัฒนานโยบายเพื่อเร่ง การบูรณาการห่วงโซ่คุณค่าที่จะนำไปสู่คาร์บอนต่ำ ตั้งแต่ CCS ไปจนถึงวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ไฮโดรเจน เราได้เรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายมากมายระดับโลก ทำความเข้าใจว่าสิ่งใดได้ผล สิ่งใดที่ไม่ได้ผล และอะไรที่จำเป็นในการทำให้เกิดผล เราแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้กับรัฐบาลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเส้นทาง สู่การลดปริมาณคาร์บอนสำหรับภูมิภาคนี้

EF: มีอะไรอีกบ้างที่จำเป็นในการสนับสนุน CCS และวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่คาร์บอนต่ำอื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก?

IS: ความร่วมมือกันคือกุญแจสำคัญสู่การลดปริมาณคาร์บอน ในเอเชียแปซิฟิก ประเทศในเอเชียแปซิฟิกมีการพึ่งพา กันซึ่งไม่มีในภูมิภาคอื่นๆ ดังนั้นการพึ่งพากันจะเป็นสิ่งสำคัญ อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจวิธีการที่จะนำ CCS และวิธีการที่ทำให้เกิดคาร์บอนต่ำอื่นๆ ไปใช้ รวมทั้งสิ่งที่เราต้องทำร่วมกัน เพื่อให้ประสบความสำเร็จ และนโยบายสนับสนุนอื่นๆ

การประสานงานกันระหว่างประเทศ ในระดับรัฐบาล ธุรกิจ และชุมชนเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกนี้ เพื่อเริ่มต้นสิ่งต่างๆ และพัฒนานโยบายสนับสนุน รวมถึงกรอบการทำงานสำหรับการกักเก็บ CO2 นโยบายและกรอบงานกำกับดูแลที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการนำเทคโนโลยีหลัก เช่น CCS, ไฮโดรเจน และแอมโมเนียมาใช้ตามจังหวะและระดับ ที่จำเป็นในการสนับสนุนอนาคตที่มีคาร์บอนต่ำ

Tags

  • icon/text-size
You May Also Like

สำรวจ เพิ่มเติม

ความมั่นคง ปลอดภัย และถาวร ที่อยู่เบื้องหลัง CCS
ทำไมต้องใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์